วันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บทที่ 3
กระบวนการสอนการสอน
การสื่อสารหรือการสื่อความหมาย มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตตลอดชีวิต การดำเนินกิจกรรมต่างๆ ต้อง
อาศัยการสื่อสารเป็นปัจจัยหลักในการถ่ายทอดเรื่องราวจากแหล่งหนึ่งไปสู่แหล่งอื่น ทางด้านการศึกษาต้องใช้การสื่อสารใช้การสื่อสารในการถ่ายทอดความรู้ ความรู้สึก หรือเจตนาของเนื้อหา บทเรียนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ถูกต้อง

ความหมายการสื่อสาร
         การสื่อสาร ในภาษไทยมีใช้อยู่หลายคำ  เช่น การติดต่อสื่อสาร หรือ การสื่อความหมาย มาจากภาษาอังกฤษคำเดียวกันคือ communication
 การสื่อสารมาจากภาษาละติน ศัพท์ว่า communis หมายถึง common คำว่า communication นั้น มาในรูปกริยาละติน communicare หมายถึงพยายามให้เกิดความเข้าใจร่วมกัน มีความคิดเห็น ความรู้สึกร่วมกัน หมายถึง พยายามแบ่งหรือให้ผู้อื่นมีส่วนร่วมในข่าวสาร ข้อคิดเห็น หรือทัศนคติ จุดสำคัญของการสื่อสารคือ การจูงใจให้ผู้รับและผู้ส่งปรับเข้าหากันเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ
      การสื่อสาร เป็นกิจกรรมหรือกระบวนการส่งข้อมูลไปยังบุคคลหรือสิ่งมีชีวิตอื่นๆ โดยใช้สัญญาน เช่น การพูด การเคลื่อนไหว หรือสัญญาณวิทยุ
 การสื่อสาร หมายถึง กระบวนการติดต่อส่งข่าวสาร ข้อเท็จจริง ความเห็นตลอดจนท่าทีความรู้สึกต่างๆ ระหว่างบุคคล ซึ่งจะต้องมีทั้งผู้ส่งสาร ตัวสาร และผู้รับสาร ด้วยวิธีการต่างๆ เช่นใช้ถ้อยคำ กริยาท่าทางเครื่องหมายอันเป็นสัญลักษณ์ของข่าวสาร

องค์ประกอบของการส่งสาร
ผู้ส่ง    เนื้อหาสาระ     สื่อหรือช่องทาง   ผู้รับ
1.ผู้ส่ง หมายถึง แหล่งกำเนิดเนื้อหารสาระซึ่งอาจจะเป็นองค์กร บุคคล กลุ่มบุคคล ที่มีจุดมุ่งหมายหรือเจตนาจะส่งเนื้อหารสาระไปยังผู้รับ
2.เนื้อหารสาระ หมายถึง เนื้อหารสาระความรู้สึกนึกคิด เจตคติ ทักษะ ประสบการณ์ต่างๆ ที่มีอยู่ในแหล่งกำเนิดหรือตัวผู้ส่งเอง
3.สื่อหรือช่องทาง หมายถึง ช่องทางต่างๆที่ใช้ในการส่งและรับรู้เนื้อหาสาระ ได้แก่  ตา หู จมูก ลิ้น และ ผิวกาย โดยอาศัยสื่อที่เหมาะสมกับช่องทางเป็นพาหะ
4.ผู้รับ หมายถึง บุคคล องค์กร หรือหน่วยงานที่รับรู้เนื้อหารสาระจากแหล่งกำเนิดหรือผู้ส่ง โดยอาศัยอวัยวะรับสัมผัส
รูปแบบการสื่อสาร
    กระบวนการสารของมนุษย์แต่ละรูปแบบมีลักษณะซับซ้อนแตกต่างกันขึ้นอยู่กับปัจจัยหรือองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นลักษณะของผู้ส่งและผู้รับ ระยะทาง  วัตถุประสงค์ จำนวนผู้รับและผู้ส่ง สภาพการณ์ เนื้อหาสาระ การรู้จักเลือกใช้วิธีการที่เหมาะสมกับแต่ละโอกาสจะช่วยให้กระบวนการสื่อสารแต่ละครั้งได้สำเร็จและมีประสิทธิภาพ รูปแบบการสื่อสารจำแนกได้ดังนี้
1.จำนกตามคุณลักษณะของการสื่อสาร แบ่งเป็น 3 ประเภทคือ
           การสื่อสารด้วยภาษาพูด เป็นภาษาที่ไม่ใช่ลายลักษณ์อักษร เรียกว่า วจนภาษา ได้แก่ การพูด การอธิบาย การบรรยาย การร้องเพลง  เป็นต้น
           การสื่อสารด้วยภาษาท่าทางหรือสัญญาณ เป็นภาษาที่ไม่ใช่คำพูดหรือการเปล่งเสียง เรียกว่า อวจนภา เช่น การยิ้ม กริยาท่าทาง ภาษามือ เป็นต้น
          การสื่อสารด้วยภาษาภาพ   เป็นภาษาที่เกิดจากการขีดเขียนซึ่งอาจเป็นรูปภาพ ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ก็ได้ เช่น โปสเตอร์ จดหมาย ตรา เครื่องหมาย ลายเซ็น รูปภาพ เป็นต้น



2.จำแนกตามปฎิสัมพันธ์ผู้รับและผู้ส่ง  แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
        การสื่อสารทางตรง เป็นการสื่อสารที่ผู้ส่งและผู้รับมีปฎิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันโดยตรง เนื้อหาสาระจะสอดคล้องกันอย่างตรงไปตรงมา  เช่น การแลกเปลี่ยนซื่อขายสินค้ากันในตลาดสด การเรียนการสอนในชั้นเรียน
    การสื่อสารทางอ้อม เป็นการสื่อสารที่อาศัยสื่อหรือวิธีการต่างๆ เป็นพาหะในการถ่ายทอดเนื้อหาสาระ โดยที่ส่งกับผู้รับไม่มีปฎิสัมพันธ์กันโดยตรง เช่น การโฆษณาทางโปสเตอร์ 

3.จำแนกพฤติกรรมในการโต้ตอบ แบ่งเป็น 2 ประเภท
      การสื่อสารทางเดียว เป็นการสื่อสารที่ผู้ส่งเป็นผู้กรำทำแต่ฝ่ายเดียว ผู้รับไม่สามารถโต้ตอบได้ทันทีทันใด แต่สมมารถย้อนกลับได้ในภายหลัง
      การสื่อสารสองทาง เป็นการสื่อสารที่ผู้ส่งและผู้รับมีโอกาสโต้ตอบกันได้ทันท่วงที
       
       
คำถามบทที่ 3
ภาษาที่เป็นแบบ อวจนภาษา คือภาษาประเภทใด
อวจนภาษาเป็นภาษาท่าทาง เช่น การยิ้ม ร้องไห้ โบกมือ หรือภาษามือ เป็นต้น